logo new removebg preview

สรรสร้างงานบัว
…ดอกบัวสดอบแห้ง (DRIED LOTUS) “Timeless Flower”…

ขั้นตอนการผลิต...ดอกบัวสดอบแห้ง...

  วัสดุและอุปกรณ์   

  ขั้นตอนการผลิต   

การอบดอกบัว

ในการอบดอกบัวให้แห้ง จะใช้สารดูดความชื้นเป็นสารที่ดูดเอาน้ำออกจากดอกบัว โดยดอกบัวยังคงสภาพของดอกเหมือนเดิม แต่อาจจะมีสีเข้มขึ้น เช่น

          ดอกบัวสีแดงเข้ม …… อบแล้วจะได้เป็นแดงเข้มขึ้น และถ้าเก็บไว้นาน ๆ จะออกเป็นสีแดงจะเข้มขึ้น ไม่ค่อยสวย
          ดอกบัวสีส้ม …… อบแล้วจะได้เป็นสีส้มสดขึ้น
          ดอกบัวสีชมพู  …… อบแล้วจะได้สีชมพูใกล้เคียงกับสีดอกสด
         ดอกบัวสีม่วงเข้ม …… อบแล้วจะได้สีน้ำเงินเข้ม
         ดอกบัวสีขาว  …… อบแล้วจะได้สีขาวเหมือนเดิม
         ดอกบัวสีเหลือง  …… อบแล้วจะได้สีเหลืองสดใส

สารดูดความชื้น

สารที่ใช้ในการดูดความชื้น จะใช้ ซิลิก้าเจล (Silica Gel) สารกันชื้น ซึ่ง ซิลิก้า เจล คือ สารสังเคราะห์ ที่สกัดจากทรายขาวผสมกรดกำมะถัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิลิกอน ไดออกไซด์ (Silicon Dioxide) มีลักษณะเป็นเม็ดกลม โดยทั่วไป ซิลิก้า เจล จะมีลักษณะเป็นโพรง มีรูพรุน ทำให้มีพื้นผิว ที่ใช้ใน
การดูดความชื้นเป็นจำนวนมาก ประมาณ 800 ตารางเมตรต่อน้ำาหนัก 1 กรัม หรือประมาณ 35-40 %ของน้ำหนักตัวเอง

 

ซิลิก้าเจล (Silica Gel) มี 4 ชนิด คือ

1. ซิลิก้าเจล ชนิดเม็ดสีขาว (White Silica Gel) ดอกบัวสดอบแห้ง 12 สรรสร้างงาน…บัว มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นประมาณ 35 -40% ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแต่ละเม็ดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร

2. ซิลิก้าเจล ชนิดเม็ดสีน้ำเงิน (Blue Silica Gel) มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการ เพียงแต่มีการเพิ่มสาร พิเศษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการตรวจวัด ปริมาณความชื้นที่กักเก็บไว้ ทำให้ผู้ใช้รู้ว่ามีการเก็บความชื้นไว้ในปริมาณเท่าไร โดยจะแสดงเป็นสีน้ำเงินและสีชมพู ให้สังเกตุดูเม็ดของ ซิลิก้าเจล ถ้าเม็ดเป็นสีน้ำเงิน หมายความว่า สารกันชื้น นั้นยังไม่ได้ใช้งานนั่นเอง ส่วนเม็ดสารกันชื้น ที่เปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีม่วงอ่อน แสดงว่าหมดอายุในการใช้งาน ควรเปลี่ยน สารกันความชื้นใหม่

 3. ซิลิก้าเจล ชนิดเม็ดสีส้ม (Orange Silica Gel) มีคุณเหมือนกับชนิดสีน้ำเงินทุกประการ การทำงาน จะเปลี่ยนจากสีส้ม เป็นสีเขียวอ่อน ซิลิก้าเจล ชนิดนี้ยังไม่ได้รับความนิยมในเมืองไทย เนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง

 4. ซิลิก้าเจล ชนิดเม็ดทราย (Silica Sand) มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการแตกต่างกันที่ ขนาดของเม็ดของสารกันความชื้น ชนิดเม็ดทราย จะมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ถ้าใช้อบดอกบัว 2 – 3 ครั้งควรจะนำไปอบในเตาไมโครเวฟ เพื่อไล่ความชื้น สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก

การไล่ความชื้นของซิลิก้า

 ในการที่นำเอาซิลิก้าเจลและซิลิก้าทรายไปใช้งาน เช่น การอบดอกบัว การเก็บดอกบัว จะทำให้เม็ดซิลิก้ามีความชื้นจะเปลี่ยนสีเป็นสีขาว สีส้ม ดังนั้นจะต้องทำการไล่ความชื้นโดยการใช้ไม่โครเวฟขนาด 80 วัตต์ อบนาน 5-10 นาที ก็จะสามารถนำซิลิก้ากลับมาใฃ้อบหรือเก็บดอกไม้ได้อีก แต่ไมโครเวฟนี้ไม่ควรนำไป
ใช้ในการประกอบอาหาร

เทคนิคในการคัดเลือกดอกบัว

การคัดเลือกดอกบัว ที่จะนำมาอบนั้นควรเป็นดอกบัวที่บานได้ 1 – 2 วัน ถึงจะได้ดอกบัวที่อบออกมาแล้วจะมีทรงดอกบานสวยงาม กลีบแข็งแรง (ขึ้นอยู่กับพันธุ์บัว) และเกสรตัวผู้ยังไม่บาน เวลาตัดส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเช้า และไม่ควรตัดมาครั้งละมาก ๆ อาจจะอบไม่ทัน

วิธีการอบดอกบัว

1. เลือกดอกบัวที่บานได้ 1 – 2 วัน ซึ่งจะได้ดอกบัวที่มีทรงการบานของดอกสวย เป็นธรรมชาติ และเมื่อดอกที่อบแห้งแล้วจะมีรูปร่างทรงที่สวยงาม

2. ตัดดอกบัวให้เหลือก้านยาวประมาณ 1 – 2 ซ.ม. แช่ไว้ในน้ำ

3. นำเอากล่องพลาสติกทรงกลม เอาซิลิก้าทราย ใส่ลงในกล่อง หนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วนำดอกบัวที่แช่น้ำไว้ สะบัดน้ำออกให้หมด แต่ต้องระวังอย่าให้กลีบดอกช้ำ ใช้ปากคีบ ทำให้ทรายเป็นหลุม แล้วคีบดอกบัววางลงในกล่องพลาสติก โดยให้มีระยะห่างเล็กน้อย เมื่อวางดอกบัวเต็มกล่องแล้ว ค่อย ๆ โรย ซิลิก้าทรายลงบนกลีบดอกบัวให้ทั่ว กลบไม่ให้เห็นกลีบบัวเลย เขียนวัน/เดือน/ปี ที่อบ ตั้งไว้ในร่ม 5 – 7 วัน

การเททราย

1. เมื่อครบกำหนด 5 – 7 วันแล้ว ให้นำเอากล่องพลาสติกที่อบดอกบัว มาเทซิลิก้าทรายออกในการเทซิลิก้าทรายนั้น ต้องค่อย ๆ เทถ้าเทแรงเกินไปอาจทำให้กลีบดอกบัวฉีกขาดได้ และเคาะเอาซิลิก้าทราย ที่ติดอยู่กับกลีบดอกออกให้หมด

2. นำเอาดอกบัวที่แห้งแล้ว เก็บไว้ในกล่องพลาสติก วางให้เป็นระเบียบ

การเตรียมโหลแก้ว

1. ฝนโหลแก้วและฝาแก้วด้วยกระดาษทรายน้ำ เบอร์ 120

2. หยดน้ำบนกระดาษทรายประมาณ 3-4 หยด คว่ำแก้วลง ใช้มือจับแก้วให้มั่นแล้วฝนปากโหลแก้วโดยการหมุนโหลเป็นวงกลม ฝนโหลแก้วจนเห็นว่าปากโหลเรียบเสมอกันดีแล้ว

3. ฝนฝาแก้ว โดยการจับฝาแก้วตั้งขึ้น แล้วฝนไปรอบๆ ฝาแก้วพยายามหมุนฝาแก้วไปเรื่อยๆ อย่าฝนซ้ำาอยู่ที่ตำแหน่งเดิมนานๆ

 4. เสร็จแล้วทำความสะอาดแก้วและฝาแก้ว โดยการล้างด้วยน้ำยาล้างจาน และล้างน้ำเปล่าให้สะอาดให้โหลใส

5. ฉีดน้ำยาเช็ดกระจก ลงในโหลแก้ว แล้วเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสำาลี (หรือผ้าที่เช็ดแล้วไม่เป็นขน) หรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เช็ดจนโหลแก้วใส เพราะถ้าเช็ดไม่ใส เวลาที่จัดดอกไม้ลงในโหลแก้วจะทำให้ดอกไม้ในโหลไม่สวยงาม

6. เมื่อทำความสะอาดโหลและฝาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คว่ำโหลแก้วไว้ไม่ให้อากาศเข้ารอจัดดอกไม้ต่อไป ส่วนฝาให้เอากระดาษหนังสือพิมพ์ห่อไว้ ควรทำเครื่องหมายไว้

การทำฐาน

ในการทำาฐาน ใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น ขวดนม, ขวดยาคูลท์หรือขวดพลาสติกขนาดเล็ก ตะกร้าเล็ก ๆ ที่สามารถใส่ในโหลแก้ว โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. ตัดขวดยาคูลท์ ขวดบีทาเก้นท์หรือตะกร้าเล็กๆ ให้สูงประมาณ 1 – 2 ซม. ขึ้นอยู่กับขนาดของ โหลแก้ว แล้วใส่ซิลิก้าเจล ลงไปประมาณ 3/4 ของก้นขวด

2. ตัดโฟมเป็นวงกลมให้มีขนาดใหญ่กว่าปากขวดนิดหน่อย ปิดทับด้วยกระดาษย่นสีเขียวนำาไปปิดขวดยาคูลท์ แล้วใช้กาวร้อนทาให้รอบปากขวด ติดให้แน่น

3.หุ้มขวดด้านนอกด้วยกระดาษห่อของขวัญ และห่อด้วยผ้าโปร่ง ติดด้วยลูกไม้โดยรอบขวดหรือติดโบว์ตรงกลางขวดเพื่อให้ดูสวยงาม

4. ใช้กาว EPOXY ติดก้นขวดที่ทำเสร็จแล้ว จากข้อ 3 นำาไปติดกับแก้วที่ทำความสะอาดเตรียมพร้อมสำาหรับจัดดอกไม้ แล้วใช้ขวดน้ำขนาดเล็กใส่น้ำให้เต็มขวดวางทับขวดยาคูลท์ไว้ให้แห้งติดดีก่อน ลงมือจัดดอกไม้

การบรรจุดอกบัว

หลังจากที่เตรียมโหลแก้วเรียบร้อยแล้ว ให้เตรียมดอกบัว ที่เก็บไว้ในกล่องพลาสติก ใบเฟิร์นนาคราช ปืนพร้อมกาวแท่ง(กาวร้อน) และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อมาบรรจุดอกบัวลงในโหลแก้ว มีขั้นตอน ดังนี้

1. นำใบเฟิร์นนาคราชมาเด็ดออกเป็นใบ ๆ มัดติดกับลวดเป็นช่อ ๆ ช่อละประมาณ 3 ใบพันทับด้วยฟลอร่าเทป

2. นำใบเฟิร์นนาคราชที่จัดทำเป็นช่อไว้มาปักลงบนโฟมให้รอบ พอดูสวยงาม

3. นำใบบัวที่อบแห้งแล้ว ซึ่งเก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่ใส่ซิลิก้าเจล นำามาพันใส่ลวดและใช้ฟลอร่าเทปพันทับ และนำไปปักที่ฐานซึ่งติดใบเฟิร์นเรียบร้อยแล้ว โดยติดให้รอบฐาน

4. นำดอกบัวออกจากกล่องพลาสติกที่ใส่ ซิลิก้า เจล มาปัดทรายออกให้หมดอีกครั้ง แล้วใช้ลวดพันด้วย ฟลอร่าเทปพันทับ เพื่อนำไปจัดในโหลแก้ว โดยใช้กาวราเท็กซ์ ปักดอกบัวให้รอบ ให้มีระยะห่างกันเล็กน้อย เพื่อความสวยงาม ในการปักดอกบัวนั้น ดอกแรกควรอยู่ตรงโบว์ (ถ้าติดโบว์ ถ้าไม่ติดโบว์ให้กะ ระยะกึ่งกลางโหล)

5. หลังจากจัดดอกบัวเสร็จแล้ว ให้นำาโหลแก้วไปเก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่ใส่ ซิลิก้า เจล ไว้แล้วเพื่อดูดความชื้น ประมาณ 4 ชม.ถึง 1 วัน

การปิดฝา

1. เมื่อเอาโหลบัวที่ปักดอกไม้เสร็จแล้วทิ้งไว้ 1 คืน ในกล่องพลาสติก ที่ใส่ซิลิก้า เจล เพื่อให้กาวแห้ง จึงนำออกมาปิดฝาโหลแก้วด้วยกระจก

2.ตัดกระจกให้มีขนาดเท่ากับปากโหลแก้วที่ได้ปักดอกบัวเสร็จเรียบร้อย แล้วฝนขอบให้เรียบกับกระดาษทรายน้ำ โดยให้ขอบเรียบเสมอกับขอบโหลแก้ว ทำความสะอาดให้เรียบร้อย เหมือนอย่างที่ทำความสะอาดโหลแก้ว

3. นำโหลบัวที่ปักดอกไม้เรียบร้อยแล้วมาติดฝา ด้วยกาว Epoxy A และ B ผสมกัน ทากาวให้ทั่วขอบโหลแก้ว เสร็จแล้วค่อย ๆ วางฝาโหลลงไป อย่าให้มีฟองอากาศ เสร็จเรียบร้อยจึงใช้ขวดน้ำาตั้งทับฝาแก้วไว้ เพื่อให้ฝาแก้วติดสนิทดี

4. เมื่อฝาแก้วติดสนิทดีแล้ว ทำความสะอาดแก้วด้วยทินเนอร์และน้ำยาเช็ดกระจก

Scroll to Top